วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15


                                                                  บันทึกอนุทิน

                               วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                              อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...12....กุมภาพันธ์.....2557...ครั้งที่...15....เวลาเรียน..08.30-12.20.... น



สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

                       วันนี้มีนัดนำเสนอสื่อการเรียนกาารสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งกลุ่มดิฉัน สื่อจับคู่หรรษามีการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอสื่อชิ้นนี้มากเพราะว่าพวกเราตั้งใจทำให้ออกมาดีที่สุดและประหยัดเงินที่สุด วัสดุที่เรานำมาทำนี้มีวัสดุหลักคือ กระดาษลัง ซึ่งไม่ได้ซื้อ และ ที่ติดขอบกระดาษ สำหรับการนำเสนอสื่อวันนี้มีความสุขและตื่นเต้นมากเพราะได้ดูผลงานของเพื่อนๆแต่ละกลุ่มซึ่งแต่ละกลุ่มมีความคิดที่หลากหลายมาก แต่ละกลุ่มทำสื่อออกมาได้มีมากจนเลือกไม่ถูกว่าชอบสื่อของเพื่อนกลุ่มไหนที่สุด แต่มาดูสื่อกลุ่มดิฉันก่อนนะคะ








สื่อของเพื่อนที่ดิฉันประทับใจ   ชื่่อสื่อนาฬิกาหรรษา



เหตุผลที่ชอบคือ

   มีลูกเล่นที่หลากหลาย สามารถสอนได้หลายวิธี เช่น สอนเรื่องรูปทรง เรื่องเวลา เรื่องเหตุการณ์ต่างๆ
และสื่อมีรูปร่างที่น่ารักหน้าสนใจ

การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคต
      
           จากการได้ดูสื่อของเพื่อนๆและได้ทำสื่อของตัวเองทำให้ทราบว่าการทำสื่อนั้นทำได้หลากหลายวิธีแล้วแต่การคิด จินตนาการของครู การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กนั้นควรสอนในสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและสอนในสิ่งที่เด็กสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ จากการที่ดูสื่อของเพื่อนทำให้มีแนวคิดในการทำสื่อคณิตศาสตร์มากมายเลยทีเดียว เชื่ออว่าในอนาคตเราต้องได้ผลิตสื่อไว้ใช้เองหรือเพื่อใช้สอนแน่นอน จากการทำสื่อในครั้งนี้จึงทำให้มีความคิดที่แปลกให้และสามารถนำสื่อของเพื่อนไปต่อยอดเป็นผลงานชิ้นโบแดงของเราได้ในอนาคตแน่นอน


วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14



                                                                   บันทึกอนุทิน

                               วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                              อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...5....กุมภาพันธ์.....2557...ครั้งที่...14....เวลาเรียน..08.30-12.20.... น






                                  ........................ไม่มีการเรียนการสอน...............................

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13



                                                                   บันทึกอนุทิน

                               วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                              อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...29....มกราคม.....2557...ครั้งที่...13....เวลาเรียน..08.30-12.20.... น



สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

         วันนี้ได้ลองเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ซึ่งแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ที่ได้เขียนนี้ ค่อนข้างยากเพราะไม่เหมือนกิจกรรมเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมกลางแจ้งเลย



                                  แผนการจัดกิจกรรมชั้น อนุบาล 1    กิจกรรม จัวหวะพาเพลิน 





แผนการจัดประสบการณ์ชั้น อนุบาล 2  กิจกรรม เวลาหรรษา





แผนการจัดประสบการณ์ ชั้น อนุบาล 3  กิจกรรม รูปทรงแสนสนุก




การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคต

                    ใช้ในการวางแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์  สำหรับเด็กปฐมวัย  เมื่อเราทำในวันนี้เราก็จะได้มีประสบการณ์ในการเขียนแผนเมื่อเราจบไปเป็นครูหรือฝึกสอนก็จะได้เขียนเป็น


วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12



                                                           บันทึกอนุทิน

                          วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                      อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...22....มกราคม.....2557...ครั้งที่...12....เวลาเรียน..08.30-12.20.... น



สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

    วันนี้ไปเรียนเช้า ตั้งใจว่าจะไปยกของช่วยอาจารย์ อิอิ วันนี้เรียนมีความสุขมากได้ทำกิจกรรมตั้ง 2 อย่าง ชอบมากที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆเพราะฝึกความสามัคคีภายในกลุ่มและเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดของแต่ละคน  วันนี้ได้ทำสื่อการเรียนการสอนมางคณิตศาสตร์ที่สอนทั้งเรื่องรูปทรง พีชคณิต การนับจำนวน ตัวเลข และความน่าจะเป็น โดยสร้างสรรค์ผลงานออกผ่านกระดาษสีที่เป็นรูปทรงที่อาจารย์เตรียมรูปทรงไว้ให้แล้ว ซึ่งแต่ละชิ้นงานจะทำตามจินตนาการแต่ละกลุ่มที่คิดอย่างจะทำออกมาในรูปแบบไหน แต่ละกลุ่มก็ทำออกมาได้สวยงามมาก ดังรูปของแต่ละกลุ่มค่ะ















           จากการได้ทำกิจกรรมที่ 1 สามารถสอนเด็กในเรื่องรูปทรง การวัดขนาด การเปรียนเทียบรูปและสี พึชคณิต การนับจำนวน การเรียงลำดับ  ถ้าหารเราจะนำกิจกรรมนี้ไปจัดให้กับเด็กเราก็ควรที่ที่จะตัดรูปทรงต่างๆไว้ให้เด็ก แล้วให้เด็กแปะลงในกระดาษ

กิจกรรมที่ 2 

          อีกหนึ่งกิจกรรมที่ได้ทำคือ การสำรวจความเหมือนความแตกต่าง ซึ่งมีรูปแบบการทำอยู่ด้วยกัน 3 แบบ ดังภาพ



             รูปแบบที่ 1  เป็นการสำรวจความชอบของเด็กโดยครูจะเป็นคนกำหนดรูปสัตว์มาแล้วสำรวจโดยการถามเด็กว่าใครชอบสัตว์ชนิดไหน แล้วให้เด็กมาแปะชื่อของตัวเองตรงสัตว์ที่ชอบ โดยครูจะเป็นคนเขียนชื่อเด็กใส่กระดาษไว้ให้ แล้วเรียนเด็กออกมาทัละคนตามชื่อที่ครูหยิบขึ้นมา


               รูปแบบที่ 2  เป็นการเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง 2 สิ่งไม่ว่าจะเป็นสัตว์หรือสิ่งของก็ได้ โดยจะทำเป็นรูปทรงวงกลมทับกันให้เป็นสามส่วนเพื่อที่จะเอาความเหมือนกันมาไว้ตรงกลางวง การเปรียบเทียบนี้จะถามเด็กแล้วให้เด็กตอบครูมีหน้าที่เขียน


            รูปแบบที่ 3  เป็นการแยกของสองสิ่งคือของใช้ที่อยู่ในห้องนอนกับห้องครัว เราสามารถใช้ในการจำแนกได้หลายหมวดหมู่ไม่ว่าจะเป็นของใช้ในห้องน้ำกับห้องครัว หรือ จะเป็นการเดินทาง การจำแนกของสองสิ่งนี้จะต้องมีรูปภาพมาให้เด็กดูก่อนเพื่อที่จะให้เด็กเห็นภาพ ก่อนอื่นเราก็เอารูปมาให้เด็กดูแล้วถามเด็กว่าของสิ่งนี้อยู่ในหมวดอะไร เมื่อเด็กตอบเราก็เอาไปแปะแล้วครูก็เขียน เมื่อตอบครบทุกรุปแล้วเราก็พาเด็กอ่านโดยใช้ไม้ชี้พาเด็กอ่านออกเสียงทีละตัว และในขณะที่ครูเขียนนั้นก็ไม่ควรที่จะเขียนบังเด็ก ต้องเอียงตัวเขียนเพื่อที่เด็กจะได้มองเห็น

การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคต

         จากที่ได้ทำกิจกรรมทั้ง 2 กิจกรรม  ทำให้มีเทคนิคในการจัดการเรียนการสอนหรือทำสื่อในการสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กมากขึ้น ในแต่ละกิจกรรมที่เราจัดให้เด็กนั้นเราก็ควรที่จะเตรียมไว้ให้เด็กก่อนเช่น กิจกรรมที่ 1 ถ้าเราจะจัดกิจกรรมให้กับเด็กเราก็ควรที่จะตัดกระดาษเป็นรูปทรงต่างๆไว้ก่อน และ เตรียมอุปกรณ์ในการทำไว้ให้ครบ ก่อนการทำกิจกรรมก็ควรจะเอาตัวอย่างให้เด็กดูก่อนก็ได้ แล้วให้เด็กทำเองตามจินตนาการที่เด็กอยากจะทำ ในกิจกรรมที่ 2 ครูต้องคอยซักถามเด็กและเป็นแบบอย่างให้กับเด็กไม่ว่าจะเป็นการพูด การออกเสียงเพราะครูเป็นคนอ่านและเขียนให้เด็กฟังและดู ถ้าครูมีบุคลิกภาพที่ดี เด็กก็จะจำแล้วทำเป็นแบบอย่าง  ถ้าเรามีบุคลิกภาพที่ไม่ดี อ่านก็ออกเสียงไม่ออกลายมือก็ไม่สวย เด็กก็จะจำในสิ่งที่ไม่ดีนั้นแล้วนำไปทำก็ได้ เพราะฉะนั้นการที่ออกไปสอนหน้าชั้นเรียนบุคลิกภาพครูคือสิ่งที่สำคัญที่สุด

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11




                                                                 บันทึกอนุทิน

                          วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                      อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

            วัน/เดือน/ปี...15....มกราคม.....2557...ครั้งที่...11....เวลาเรียน..08.30-12.20.... น

สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

                   วันนี้ไปเรียนเช้ามากไปก่อนตั้งครึ่งชัวโมง เพราะอาทิตย์ที่แล้วไปสายอาจารย์เบียร์ดูและอาจารย์ก็ทำท่าทางน้องใจ  มาอาทิตย์นี้ก็เลยตั้งใจว่าจะไปเช้ากลัวอาจารย์เบียร์น้องใจอีก แต่วันนี้ก็ไปนั่งรออาจารย์ ก็ยังดีค่ะ ที่ไม่ได้เข้าเรียนสาย ...อิอิ....วันนี้อาจารย์มาสายเพราะอาจารย์ติดธุระ ก็เลยให้อภัยค่ะ..^^
                  กิจกรรมที่ได้ทำวันนี้ก็ได้แต่งนิทานร่วมกันกับเพื่อนในห้องเพื่อทำหนังสือนิทานเล่มใหญ่หรือว่า Big Book มีเนื้อหานิทานต่อไปนี้

 นิทานเรื่อง ลูกหมูเก็บฟืน

                 กาลครั้งหนึ่งมีบ้านอยู่สามหลัง หลังที่หนึ่งมีรูปร่างเป็นวงกลม หลังที่สองมี่รูปร่างเป็นสามเหลี่ยม และหลังที่สามมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม ในบ้านแต่ละหลังมีลูกหมูอาศัยอยู่ หลังละ 2 ตัว หมูแต่ละตัวจะออกไปทำงานทุกเช้า หมูที่อยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมต้องเดินทางไปที่ทำงานซึ่งไกลมาก หมูที่อยู่บ้านสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยมเดินทางไม่ไกลจากที่ทำงาน หมูที่อยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมเดินทางไปเก็บฟืนในป่า ซึ่งในป่ามีฟืนเยอะแยะ เจ้าหมู 2 ตัวก็เลยเรียกเพื่อนที่อยู่บ้านหลังสี่เหลี่ยมกับสามเหลี่ยม เพื่อมาช่วยกันเก็บฟืน หมูทั้ง 6 ช่วยกันนับฟืนที่เก็บได้ทั้งหมด 10 ท่อน แล้วหมูก็นำฟืน 3 ท่อนไปจุดไฟ เพื่อทำกับข้าว หมูก็เลยเหลือฟืนทั้งหมด 7 ท่อน และหมูก็นำฟืน 7 ท่อนที่เหลือเก็บไว้ใช้ในวันต่อไป

                          
                                                          ภาพในขณะทำกิจกรรม








ภาพรูปเล่มหนังสือนิทาน เรื่อง ลูกหมูเก็บฟืน





















ความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้และการนำความรู้ที่ได้ไปในในอนาคต

                   จากกิจกรรมทำให้เราเป็นคุณครูที่แต่งนิทานเป็น รู้จักการนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนมาใช้ในการแต่งนิทานสำหรับเด็กใหเกิดประโยชน์ เพราะการสอนเด็กนั้นไม่จำเป็นแค่จะสอนในตำรา แต่การเล่านิทาน การให้เค้าดูภาพต่างๆก็ถือว่าเป็นการสอนให้เด็กได้รู้เรื่องราวต่างๆนั้นได้เท่ากันสอนในตำราเลย เพราะเด็กส่วนใหญ่จะเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆที่ครูจัดให้ เพราะฉะนั้นการจัดกิจกรรมให้เด็กถือเป็นหัวใจที่สำคัญของการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยเลยทีเดียว
                      เมื่อเราเป็นครูในอนาคตเราก็ต้องเก่งที่จะคิด เก่งที่จะทำและกล้าที่จะจัดกิจกรรมให้เด็กได้เล่นได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ เพราะครูถือเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของเด็ก หรือครูปฐมวัยเป็นปัจจัยหนึ่งของเด็กปฐมวัยที่จะชี้นำเข้าไปในทิศทางใดก็ได้

วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

                                                   

                                                                      บันทึกอนุทิน

                                  วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                                 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

          วัน/เดือน/ปี...8....มกราคม.....2557...ครั้งที่...10....เวลาเรียน..08.30-12.20.... น.



สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

      วันนี้อยากจะเรียนมากเพราะเป็นอาทิตย์แรกของการเรียนในปี 57 แต่พอหาแผ่นปั๊มไม่เจอ หาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ ถึงกลับไม่มีอารมณ์ที่จะเรียนเลย วันนี้เลยไปเรียนสายและไม่มีสมาธิที่จะเรียนเพราะมัวแต่คิดว่าตัวเองเอาแผ่นปั๊บไปทิ้งไว้ที่ไหนรึป่าว ในขณะที่นั่งเรียนก็ไม่จดเพราะหาสมุดไม่เจอ ไม่มีอารมณ์ที่จะเรียนเลย แต่ก็ฟังอยู่นะคะ (กลับมาหาอีกทีตอนเย็นปรากฎว่าหาเจอแล้วค่ะ ^^)
       เด็กปฐมวัยเมื่อเรียนจบชั้นอนุบาลต้องได้ ในเรื่องคณิตศาสตร์คือ  การนับจำนวน 1-10 เข้าใจหลักการนับ รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย  เปรียนเทียบ เรียงลำดับ การรวมและการแยกกลุ่ม รู้จักเงินเหรียญธนาบัตร  ตำแหน่งทิศทาง และระยะทาง เข้าใจช่วงเวลา เห็นท้องฟ้าเด็กต้องบอกได้ว่าเป็นช่วงเวลาไหน  เข้าใจขนาดรูปร่างและรูปทรง


กิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้

         อาจารย์ให้มาเลือกรูปทรงต่างๆที่อาจารย์มีมาให้ ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และวงกลม  ซึ่งเราไม่รู้เลยว่าอาจารย์จะให้เอารูปทรงเหล่านั้นมาทำอะไร เมื่อทุกคนในห้องได้หยิบรูปทรงมาเป็นของตัวเองเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ก็เฉยว่าให้ว่างรูปทรงที่เราเลือกไปนั้นอยู่ตรงกลางจากนั้นเราจะวางรูปอะไรต่อเติมก็ได้  ซึ่งดิฉันก็ได้วาดรูปช้างอ้วน พึ่งไปดื่มน้ำที่สระน้ำเสร็จพอดี




ความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้

                    -ได้เรี่องรูปทรงสามเหลี่ยม  ทรงสี่เหลี่ยม และทรงสามเหลี่ยม ว่าเราสามารถต่อเติมให้เป็นรูปอะไรได้
                   - ได้เรื่องจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการทำผลงาน
                   - ได้เรื่องการเปรียบเทียบเพราะว่าเรากับเพื่อนได้รูปทรงที่เหมือนกันบ้าง ไม่เหมือนกันบ้าง ก็เอามาแลกเปลี่ยนกันว่าใครต่อเติมเป็นรูปอะไรกันบ้าง


การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคต

                ใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กและแต่ละกิจกรรมในการจัดให้เด็กต้องคำนึกถึงตัวเด็กเป็นสำคัญ ครูต้องเป็นคนที่คอยให้ความช่วยเหลือเด็กในทุกๆด้าน เด็กทำอะไรครูก็ต้องคอยซักถามเพื่อให้เด็กได้คิดและหาคำตอบ เพื่อเด็กจะได้พัฒนาสมองและการคิดไปด้วย และการพูดแต่ละอย่างของครูก็ต้องสื่อสารให้ชัดเจน
          

วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9



                                                                  บันทึกอนุทิน

                                  วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                                 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

          วัน/เดือน/ปี...1....มกราคม.....2557...ครั้งที่...9....เวลาเรียน..08.30-12.20.... น.


              


                     .....ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากหยุดวันปีใหม่...








บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

                                 

                                                                    บันทึกอนุทิน

                                  วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                                 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

          วัน/เดือน/ปี...25 ...ธันวาคม.....2556.....ครั้งที่...8....เวลาเรียน..08.30-12.20.... น.





        ........... ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีการสอบกลางภาค
                                                      
                                                                         ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม..........